สังคมไทยในปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่าเป็นสังคมที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศทั้งชายและหญิง
แต่หากมองให้ลึกแล้วจะเห็นว่ามีความไม่เท่าเทียมหรือเสมอภาคกันอยู่ในหลายด้าน โดยด้านหนึ่งที่สำคัญคือ
ด้านกฎหมาย ในที่นี้จะชี้ให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันหรือข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
ภาค ๕ ครอบครัว เรื่องความสัมพันธ์ระว่างสามีภริยา โดยอาศัยความตามมาตรา ๒๑ และ ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุธศักราช ๒๔๘๑
โดยจักเห็นว่าความในสองมาตรานี้จะเป็นการกล่าวถึงการบังคับใช้กฎหมายระหว่างสามี
ภริยา และทรัพย์สินระหว่างสามี ภริยา ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของเพศแห่งการใช้กฎหมายนี้เอง
อาจเป็นการทำให้ข้อกฎหมายนี้ไม่เป็นธรรมแก่เพศหญิงหรือภริยาในกรณีที่เกิดข้อพิพาท
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
พุธศักราช ๒๔๘๑ กำหนดความในมาตรา ๒๑ ว่าถ้าคู่สมรสมีสัญชาติอันเดียวกัน
หรือถ้าภริยาได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สมรส
วรรคสองในกรณีที่ภริยามิได้ได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี ซึ่งความในวรรคสองนี้เองที่ชี้ให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันระว่างสามีและภาริยาโดยอาจเกิดเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมได้
เพราะความในมาตรานี้เป็นการกำหนดถึงข้อกฎหมายที่ผูกพันความสุมพันธ์ระหว่างสามีและภริยา
โดยจะครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งสองที่พึงปฏิบัติต่อกัน (กล่าวถึงกฎหมายในประเทศไทยคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ ๕ มาตรา ๑๔๖๑ ถึง ๑๔๖๔ อันเป็นการกล่าวถึงการต้องอยู่กินกันฉันท์สามีภริยา
การต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน เป็นต้น)
จะเห็นได้ว่าความในมาตรานี้อาจก่อให้เกิดการไม่เท่าเทียมกันได้ ตัวอย่างเช่น หญิงเป็นผู้ถือสัญชาติไทย
แต่งงานกับชายผู้ถือสัญชาติ เอ โดยกฎหมายของประเทศเอ
ยังมีความไม่เท่าเทียมกันทางเพศโดยในกฎหมายครอบครัวได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภริยาเป็นเป็นการกดขี่ทางเพศ
เช่น
ภริยาจะต้องดูแลสามีอย่างเดียวไม่สามารถประกอบอาชีพหรือมีความเห็นต่างจากความเห็นของสามีได้
เป็นต้น เมื่อเกิดข้อพิพาทในทางระหว่างประเทศขึ้น และจำเป็นต้องใช้พระราชบัญญัติขัดกันแห่งกฎหมายของไทย
ในกรณีนี้ หากภริยามิได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส ทำให้บทบัญญัติเรื่องความสัมพันธ์ระว่างสามีภริยาต้องเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของสามี
เช่นนี้จักเห็นได้ว่าหญิงผู้นี้ยังมีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยอยู่ด้วยเพราะยังคงถือสัญชาติไทย
แต่ด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย มาตรา ๒๑
นี้กลับทำให้ผู้ถือสัญชาติไทยผู้นี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
อันบัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง วรรคสอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน
หากมองในมุมกลับกันว่า “ต่อไปในภาคหน้า
หญิงผู้ถือสัญชาติไทยนี้ก็อาจจะต้องถือสัญชาติเอ
ตามสามีและปฏิบัติตามกฎหมายของชาติเออยู่ดี เช่นนี้จะต่างกันอย่างไร”
จริงอยู่ที่หากหญิงผู้นี้ได้สละซึ่งสัญชาติไทยไปแล้ว
แต่ในกรณีนี้หญิงผู้นี้ยังคงถือสัญชาติไทยอันกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยหรือยังคงถือเป็นคนชาติของประเทศไทยอยู่
ทำให้หญิงผู้นี้ต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยอยู่นั่นเอง
แต่ด้วยข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนี้กลับทำให้คนชาติไร้ซึ้งความคุ้มครองนี้
ทั้งที่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ปวงชนชาวไทยทุกคนพึงมีและเป็นหน้าที่ที่กฎหมายสูงสุดบัญญัติไว้
ทั้งนี้นอกจากความไม่เท่าเทียมกันของการใช้ข้อกฎหมายเรื่องความสัมพันธ์ระว่างสามีภริยาอันอาจมองเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมแล้ว
ยังมีข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมอีกข้อในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
พุธศักราช ๒๔๘๑ คือกำหนดความในมาตรา ๒๒ วรรคสองว่าถ้าสามีและภริยามีสัญชาติแตกต่างกัน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี ในความข้างต้นนี้นั้นทำให้เห็นได้ชัดเจนเลยว่าอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ภริยาผู้ถือสัญชาติต่างจากสามี
อาทิ ภริยาถือสัญชาติไทยสมรสกับสามีสัญชาติออสเตรเลีย
แต่มิได้สัญชาติตามสามีจากการสมรถ กรณีพิพาทนี้เมื่อต้องใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายของไทย
พุธศักราช ๒๔๘๑ มาตรา ๒๒ ได้กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของสามี
เช่นนี้เห็นได้ชัดเจนเลยว่าในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุธศักราช
๒๔๘๑ ทั้งสองมาตรานี้
ไม่ได้ให้การปกป้องคุ้มครองคนชาติของตนอีกทั้งยังไม่มีความเท่าเทียมกันระว่างชายหญิงจนเป็นเหตุให้เกิดเป็นข้อกฎหมายที่อาจส่งผลร้ายแก่หญิง(ภริยา)หรือเกิดเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนั่นเอง
เหตุที่คาดได้ว่าทำไมพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุธศักราช ๒๔๘๑
ถึงบัญญัติกฎหมายไปในทางนี้นั้นอาจเพราะเป็นกฎหมายเก่า
ซึ่งในยุคนั้นยังไม่มีความตื่นตระหนักเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างเพศหรือกล่าวง่ายๆ
คือในสมัยนั้นเป็นสมัยที่ชายยังคงเป็นใหญ่ในบ้าน
กล่าวคือชายยังคงเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้ร่างกฎหมาย
ทำให้กฎหมายส่วนใหญ่ที่เกิดในยุคนั้นยังคงมีการร่างเพื่อให้ชายได้เปรียบอยู่
เหตุนี้เองที่ให้เกิดความไม่เท่าเทียมในข้อกฎหมายจนเกิดเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมแก่หญิงผู้เป็นภริยาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
พุธศักราช ๒๔๘๑
จะเห็นได้ชัดเจนว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
พุธศักราช ๒๔๘๑
มาตราทั้งสองนี้ก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมต่อสิทธิที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้แก่หญิงภริยาตามพระราชบัญญัตินี้
นั่นเพราะความล้าหลังของกฎหมาย การขัดกันแห่งกฎหมายเป็นกลไกพิเศษที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการพัฒนาการ
ของกฎหมายในเรื่องทางแพ่งและพาณิชย์ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกฎเกณฑ์หรือจุดเกาะเกี่ยวให้ทันสมัย
และเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมข้ามพรมแดนอยู่เสมอ ยิ่งสภาพข้อเท็จจริงที่ทำให้ข้อพิพาทนั้นๆ
เปลี่ยนไปเพียงใดก็ยิ่งจำเป็นต้องปรับปรุงจุดเกาะเกี่ยวให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริง
แต่เนื่องจากกฎเกณฑ์ทั้งหลายใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย
พุธศักราช ๒๔๘๑ ออกแบบมาเพื่อใช้กับนิติสัมพันธ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งลักษณะของกิจกรรมในสังคมปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งไม่มีความสลับซับซ้อนหรือทันสมัยทัดเทียมปัจจุบัน
จึงทำให้กลไกการขัดกันแห่งกฎหมายของไทยไม่สามารถใช้ในการเลือกจุดเกาะเกี่ยวในการใช้กฎหมายได้อย่างเหมาะสม
ข้าพเจ้าจึงคิดว่าเมื่อเครื่องมือล้าสมัยไม่ทันต่อสภาพสังคมย่อมไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น